top of page
Mammea siamensis T_edited.jpg

สารภี

สารภี เป็นไม้ประจำถิ่นแถบไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ระบุการใช้ดอกสารภีร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ใน “ตำรับยาเขียวหอม”  สรรพคุณ บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษหัด พิษอีสุกอีใส

สรรพคุณ :

  • ตำรายาไทย ดอกรสหอมเย็น เป็นยาชูกำลัง บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ใช้ทำยาหอม จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้ง 5, 7 และ 9

  • แก้โลหิตพิการ

  • แก้ไข้ที่มีพิษร้อน ทำให้เจริญอาหาร

  • เกสรเป็นยาบำรุงครรภ์

  • แก้ไข้

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mammea siamensis T. Anderson

ชื่อไทย : สารภี

ชื่ออื่น : ทรพี (จันทบุรี) สร้อยพี (ใต้) สารภีแนน (เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูง 10-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบแผ่กว้าง เปลือกสีเทาหรือเทาปนน้ำตาล แตกล่อนเป็นสะเก็ด เปลือกชั้นในสีแดงเข้ม มีน้ำยางสีคล้ายน้ำนม เมื่อทิ้งให้สัมผัสกับอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน กิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ปลายมนหรือแหลม แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อ ช่อเดียวหรือหลายช่อตามกิ่ง สีขาว กลิ่นหอมมาก เมื่อใกล้โรยดอกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผล รูปรีหรือรูปกระสวย เมื่อสุกสีเหลืองอมส้ม มีเนื้อสีเหลืองหรือสีแสดหุ้มเมล็ด ผลแก่แตกออกได้ 

bottom of page